สุขศึกษา

โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

  เรื่อง ขนมเส่งเผ่ฮาละหว่า ของชาวอำเภอแม่สอด

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2


กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา

สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย
มาตรฐาน พ 1.1 เขาใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย ระบุปจจัยที่มีผลกระทบตอการเจริญเติบโตและพัฒนาการดานรางกายจิตใจ อารมณสังคม และสติปัญญาในวัยรุน



สมาชิกดำเนินงาน

1.         เด็กชายพีรภัทร          สุขเกษม           ม.2/2          เลขที่ 4    

2.         เด็กชายภัทรพล         อาวาส               ม.2/2         เลขที่ 5    

3.         เด็กชายสกรรจ์           เขียนนันใจ        ม.2/2         เลขที่ 7    

4.         เด็กชายวริศรา            พรมมา              ม.2/2         เลขที่ 34

หลักการบูรณาการ  



สาระสุขศึกษา

ขนมเส่งเผ่ และฮาละหว่า


เส่งเผ่ และฮาละหว่า เป็นชื่อของขนมหวานของชาวไทยใหญ่ เส่งเผ่มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดง ที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิ ต่างกันตรงหน้าเส่งเผ่จะราดด้วยหัวกะทิแล้วปิ้ง หรือ อบหน้าจนเกรียม รสชาติหวานมัน ส่วน ฮาละหว่าตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย กะทิ เมล็ดสาคูเล็ก หน้าขนมทำเช่นเดียวกับเส่งเผ่ มีรสชาติหวานมัน แม่ค้าจะทำขนมนี้บรรจุในถาดกลม และตัดขายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีขายในตลาดสดเทศบาล อำเภอแม่สอด
คุณค่าทางสารอาหาร
ด้านร่างกาย
ด้านบวก
ถ้าเรารับประทานขนมฮาละหว่า-เซ่งเผ่ พอประมาณไม่มากเกินไปจะทำให้ร่างกายเรานำสารอาหารที่ได้ คือ แป้ง คาร์โบไฮเดรต ไขมัน   ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ มีการเจริญเติบโตที่สมส่วน มีภาวะโภชนาการดีจะมีน้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์เมื่อเทียบน้ำหนักกับส่วนสูงจะอยู่ในระดับปกติไม่อ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป

ด้านลบ
ถ้าเรารับประทานขนมฮาละหว่า-เซ่งเผ่ มากเกินไป แล้วไม่ออกกำลังกายจะทำให้มีภาวะโภชนาการเกินหรือโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง โรคข้อเสื่อม เป็นต้น  และจะทำให้เรามีน้ำหนักมากกว่าเกิน

ด้านจิตใจ
ด้านบวก
จะทำให้มีสุขภาพจิตใจดี ไม่เครียดเกี่ยวกับรูปร่างของตนเอง มีความสุขในเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิต  จะมีพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไปหรือน้อยเกินไป รู้จักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ไม่เกินโรคอ้วนเกินไป หรือ ผอมเกินไป ทำให้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องรูปร่างของตนเอง

ด้านลบ
จะทำให้เครียดเรื่องรูปร่างของตน ไม่พอใจในรูปร่าง  เพราะ กินของที่มีไขมันมากเกินไป ไม่รู้จักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นโรคอ้วนง่าย แล้วเครียด ไม่มีความสุขในเรื่องต่างๆ เนื่องจากมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม มักนิยมกินอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง กินผัก และ ผลไม้น้อย และออกกำลังกายไม่เหมาะสม


ด้านอารมณ์
ด้านบวก
ทำให้มีอารมณ์ดี  พออกพอใจในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องรูปร่างของตนเอง ไม่วิตกกังวลในเรื่องรูปร่าง เพราะกินอาหารที่เหมาะสม ครบ 5 หมู่ รู้จักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  ไม่กินอาหารประเภทไขมันมากเกินไปหรือที่มีคาร์โบไฮเดรต สูงเกินไป 


ด้านลบ
มีอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย  รู้สึกไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง   วิตกกังวล  เพราะ รับประทานอาหารประเภทไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป จึงทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา   ออกกำลังกายไม่เหมาะสม  จนทำให้อารมณ์เสียอยู่บ่อยๆ  ไม่มั่นใจในตนเอง



ด้านสังคม
ด้านบวก
ถ้าเราอยู่ในสังคมที่ดี   ครอบครัวดูแลอย่างเหมาะสม ให้ลูกกินอาหารครบ 5 หมู่ ดูแลสั่งสอนลูก คอยตักเตือนเมื่อลูกทำผิด ทำให้ลูกเข้าสังคมได้ดี ไม่เกิดการทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น  รู้จักแบ่งปันสิ่งต่าง  มีพัฒนาการที่ดีและมีการเจริญเติบโตที่สมส่วน ตามเกณฑ์  สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ด้านลบ
ถ้าเราอยู่ในสังคมที่ไม่ดี  ครอบครัวทะเละกัน  ไม่ดูแลสั่งสอนลูก   เลี้ยงดูไม่เหมาะสม  จะทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ดี เพราะ ไม่มีใครคอยดูแลสั่งสอน
เข้าสังคมกับผู้อื่นไม่ได้  มีร่างกายที่ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยได้ง่าย เพราะ ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อร่างกายจึงทำให้เกิดโรคได้ง่าย  และไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้


ด้านสติปัญญา
ด้านบวก
ทำให้มีสติปัญญาที่ดี  มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เนื่องจาก ได้รับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่  จึงทำให้มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว  รู้จักคิด   วิเคราะห์ ปัญหาต่างๆที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน รู้จักการแก้ไขปัญหา
เฉพาะหน้า   และ มีความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ

ด้านลบ
มีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติ เนื่องจาก ได้รับสารอาหารที่น้อยเกินกว่าปกติ  และครอบครัวไม่คอยดูแลเอาใจใส่  ไม่อบรมลูก คอยบอก  คอยสอนลูกให้ได้รู้จักสิ่งแปลกใหม่ที่เข้ามาในชีวิต   ทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ช้ากว่าคนปกติ   เรียนรู้ในสิ่งต่างๆช้ากว่าปกติ 
อาหาร หมายถึง สารซึ่งอาจเป็นของแข็งหรือของเหลวที่รับประทานเข้าไปแล้วไม่เป็นพิษหรือโทษต่อร่างกาย แต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

           

โภชนาการและอาหาร
โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอาหารที่เข้าไปในร่างกาย การพัฒนาของร่างกายจากการได้รับสารอาหารรวมทั้งการปรุงแต่งอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการตามสภาพและวัย
ปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
1. การงดรับประทานอาหารบางมื้อ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ขาดสารอาหารที่จำเป็นบางอย่าง พลังงานไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมต่างๆ
2. การดื่มน้ำอัดลมและกาแฟ
3. การนิยมอาหารฟาสต์ฟู้ด ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และยังเป็นการสิ้นเปลืองเงินทองอีกด้วย
4. ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร
 สารอาหาร หมายถึง สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหาร เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายอาหารต่างๆที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ถ้าแยกคุณสมบัติทางเคมีแล้วจะได้สารอาหาร 6 ประเภทด้วยกัน คือ
1. โปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ไข่ และโปรตีนในพืช ได้แก่ ถั่วชนิดต่างๆ เป็นต้น
2. คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าวชนิดต่างๆ แป้ง น้ำตาล เผือก มัน เป็นต้น
3. ไขมัน ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ และน้ำมันจากพืช
4. วิตามิน ได้แก่ วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน และวิตามินที่ละลายในน้ำ
5. เกลือแร่ ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่างๆ พืชผัก นม ไข่ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เป็นต้น
อาหารหลัก 5 หมู่
หมู่ที่ 1    โปรตีน เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง
หมู่ที่ 2    ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน ขนมปัง
หมู่ที่ 3    ผักใบเขียว และผักชนิดต่างๆ
หมู่ที่ 4    ผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น ส้ม องุ่น
หมู่ที่ 5    ไขมันจากสัตว์ และพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น