ภาษาไทย

โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

  เรื่อง ขนมเส่งเผ่ฮาละหว่า ของชาวอำเภอแม่สอด

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2



กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

มาตรฐาน ท 2.1 ม.2/5 เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า

มาตรฐาน ท 5.1 ม. 2/4 สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน


สมาชิกดำเนินงาน

     1.       เด็กชายปรายแสง             ศรีงาม           ม.2/2            เลขที่  1

     2.       เด็กชายสิทธินนท์            สุยะตุ่น          ม.2/2            เลขที่  8

     3.       เด็กชายศุภชัย                  อินต๊ะ            ม.2/2            เลขที่  13

     4.       เด็กหญิงณาณี                  แสงช้าง        ม.2/2             เลขที่  29

หลักการบูรณาการ


กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เรื่อง ขนมเส่งเผ่ฮาละหว่า

          ในยุคนี้ประเทศไทยเรารับวัฒนธรรมจากต่างชาติไว้มากมาย ทั้งด้านวัฒนธรรม ศาสนา การแต่งกาย การพูด รสนิยมต่างๆ และอาหาร พอเราพูดถึงอาหารก็จะคิดได้เลยว่าไทยเรารับเอาแต่ของต่างชาติมากเกินไป จนไม่ได้คิดถึงขนมและอาหารของไทยบ้าง เส่งเผ่และฮาละหว่าก็เป็นหนึ่ในขนมที่กำลังจะหายด้วย ก่อนที่จะอนุรักษ์ต้องทำความรู้จักมันก่อน
        เส่งเผ่ และฮาละหว่า เป็นชื่อของขนมหวานที่มาจากประเทศพม่า "เส่งเผ่" มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดง ที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิ ต่างกันตรงหน้าเส่งเผ่จะราดด้วยหัวกะทิแล้วปิ้ง หรือ อบหน้าจนเกรียม รสชาติหวานมัน ส่วน "ฮาละหว่า" ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย กะทิ เมล็ดสาคูเล็ก หน้าขนมทำเช่นเดียวกับเส่งเผ่ มีรสชาติหวานมัน แม่ค้าจะทำขนมนี้บรรจุในถาดกลม และตัดขายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีขายในตลาดสดเทศบาล อำเภอแม่สอด ขนมเหล่านี้อาจมีขายเพียงที่เดียวในประเทศ จึงไม่ค่อยมีใครรู้ชื่อขนมนี้ แต่ถ้ารู้จักก็คงชื่นชอบมากๆ เพราะความหวานและหอมของกะทิ ซึ่งถ้ารับประทานมากเกินก็จะเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ชอบความหวานของขนมนี้ ก็จะทานมา ซึ่งก็จะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และเมื่อทานเสร็จควรออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและไม่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานที่ตามมา
     ขนมนี้เป็นขนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการดี มีความอร่อย หอมกะทิ แต่ถ้าทานมากๆ ก็ไม่ดี ควรรับทานแต่พอควร ซึ่งขนมชนิดนี้แทบจะสาบสูญไปเสียแล้ว เราคนยุคใหม่จึงควรอนุรักษ์ขนมชนิดนี้ไว้ตลอดไป










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น